Tuesday, October 11, 2011

Basic Process of Warehouse

การจัดการคลังสินค้าที่ดียอมมีชัยไปกว่าครึ่ง ที่เป็นเช่นนั้นเพราะคลังสินค้าสามารถทำกำไรให้ได้มากถ้าบริหารได้ดีและสามารถทำให้ขาดทุนหรือกำไรน้องเช่นกัน ถ้าบริการจัดการไม่ดี
สำหรับ basic process ของคลังสินค้าก็ืคือกิจกรรมที่เราทำกันทุกวัน ถ้าจะเปรียบเทียบกับชีวิตประจำวันของเราก็ตั้งแต่ตื่นตอนอาบน้ำ แต่งตัวออกไปทำงาน ซึ่งในแต่ละกิจกรรมเราจะต้องบริหารให้ได้ดีที่สุด คลังสินค้าก็เช่นกันมีกิจกรรมที่เราทำเป็นประจำกันดังนี้
  1. รับสินค้าเข้าคลัง (Receiving) สามารถรับได้ทั้งที่เป็น FG (Finish Goods), RM (Raw-material)
  2. จัดเก็บสินค้า (put-away)
  3. ตรวจนับสินค้า (Stock counting)
  4. ปรับยอดสินค้า (Adjust stock)
  5. ย้ายที่จัเก็บ (Location transfer)
  6. จ่ายสินค้า (Issue) ไม่ว่าจะเป็นจ่ายวัตถุดิบให้ฝ่ายผลิต หรือจ่ายเพื่อขายให้กับลูกค้า
กิจกรรมเหล่านี้เป็นกิจกรรมเบื้องต้นที่คลังสินค้าทำเป็นประจำ

การจัดการคลังสินค้า

สำหรับคลังสินค้าสามารถพูดได้ว่าเป็นหัวใจของ Logistic เลยทีเดียว เพราะคลังสินค้าถ้าบริหารได้ดีก็ทำให้เกิดกำไรอย่างมาก แต่ถ้าจัดการคลังสินค้าได้ไม่ดีก็มีโอกาสที่จะขาดทุนหรือมีกำไรน้อย ถ้าลองแบ่งคลังสินค้าตามธุริกจบ้านเราอาจแบ่งได้เบื้องต้นดังนี้
  1. คลังสินค้าประเภทอาหารและยา สินค้าประเภทนี้ต้องมีวันหมดอายุ (ageing) ถ้าบริการไม่ได้ก็จะทำให้สินค้าหมดอายุก่อนที่จะนำออกไปขายหรือจำหน่วย
  2. คลังสินค้าประเภทอิเล็กทรอนิกค์ สินค้าประเภทนี้จะมี serial number, part number, Lot สินค้าเหล่านี้สามารถเก็บไว้ได้นานก็จริงเพราะไม่มีวันหมดอายุ แต่ทิศทางของการตลาดค่อนข้างเร็ว เช่นราคา มักจะลดลงอย่างรวดเร็วเวลาที่มีสินค้าตัวใหม่ออกมาแทนที ถ้าเราสามารถบริหารและกระจายสินค้าได้อย่างแม่นยำและถูกต้องก็จะสามารถขายได้มากในช่วงเวลาที่ตลาดต้องการ
  3. คลังสินค้าแบบซื้อมาขายไป สินค้าเหลานี้ถ้าสามารถคำนวณช่วงของราคาได้ดีจะทำให้สามารถกักตุนเพื่อทำกำไรได้มาก

ไม่ว่าจะเป็นสินค้าประเภทไหนถ้าเราสามารถบริหารและจัดการได้ดี จะสามารถทำกำไรให้เราได้มาก เพราะรู้ว่าจะต้องกักตุนหรือขายออกช่วงไหน การจะได้มาซึ่งข้อมูลที่สามารถพยาการณ์ (forecast) เราจะต้องมีการเก็บข้อมูลมากพอสมควรในส่วนนี้สำหรับ warehouse จะอยู่ใน module business intelligent